สถานตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.)

สถานตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.)


สถานตรวจสภาพรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (ตรอ.)
ประกาศจากกรมการขนส่งทางบก
ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2552 เป็นต้นไป กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้
มี การตรวจสภาพรถยนต์ทุกคันด้วยเครื่องตรวจเบรคด้วย
ซึ่งทาง หจก.บางใหญ่ธนากร ได้ติดตั้งเครื่องตรวจเบรครุ่นใหม่ตาม spec.
ที่ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว และราคาค่าตรวจสภาพรถยนต์ทุกคันจะเป็นคันละ 200 บาท
* รับตรวจรถที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2 ตัน (2,000 กก) *
การตรวจสภาพรถยนต์และรถจักรยานยนต์
รถที่ต้องตรวจสภาพก่อนชำระภาษีประจำปี
รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งาน 5 ปี
รถยนต์ที่มีอายุการใช้งาน 7 ปี

การคำนวณปีครบกำหนดตรวจสภาพ
ให้เอาปี พ.ศ. ปัจจุบันตั้ง ลบด้วย ปีจดทะเบียน (ดูในสมุดคู่มือ)

เช่น รถเก๋งของท่าน จดทะเบียนปี 2546
ให้นำพ.ศ.ปัจจุบันคือ 2553 ตั้ง แล้วลบด้วย 2546 ได้ผลลัพธ์คือ เท่ากับ 7 พอดี
ดังนั้นนั้นปีนี้ ท่านจะต้อง เริ่มตรวจสภาพเป็นปีแรก ก่อนไปชำระภาษี
และต้องตรวจต่อไปทุกๆ ปี ตลอดอายุรถ รวมทั้งต้องทำ พรบ.ด้วย
ซึ่งทางเราก็มีไว้บริการแล้วเช่นกัน

อัตราค่าบริการ
การตรวจสภาพรถครั้งแรก
1. รถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท
2. รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 200 บาท
3. รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 300 บาท
** รับตรวจรถที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2 ตัน (2,000 กก) **

การตรวจสภาพครั้งที่ 2 หรือครั้งต่อ ๆ ไป (เฉพาะในกรณีตรวจครั้งแรกแล้วไม่ผ่าน)
- กรณีนำรถเข้ารับการตรวจสภาพภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ตรวจสภาพรถครั้งแรกแล้วไม่ผ่าน
ซึ่งจะทำการตรวจสภาพรถเฉพาะรายการที่เป็นเหตุให้รถไม่ผ่านการตรวจสภาพ
ให้เก็บค่าตรวจสภาพรถ ในอัตราครึ่งหนึ่งของอัตราค่าตรวจสภาพครั้งแรก

- กรณีนำรถเข้ารับการตรวจสภาพเกิน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ตรวจสภาพรถครั้งแรกแล้วไม่ผ่าน
ซึ่งจะต้องทำการตรวจสภาพรถใหม่ทุกรายการ ให้เก็บค่าตรวจสภาพในอัตราเท่ากับอัตรา
ค่าตรวจสภาพรถครั้งแรก

• การนับอายุใช้งานของรถ
การ นับอายุการใช้งานของรถ ให้นับอายุทางทะเบียนโดยนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก
ถึงวันสิ้นสุดอายุภาษีประจำปี (วันครบกำหนดเสียภาษีประจำปี)



• รถที่ต้องนำไปให้นายทะเบียนตรวจสถาพที่หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก
(สถานตรวจสภาพรถเอกชนไม่สามารถรับตรวจสภาพได้)

1. รถที่ดัดแปลงสภาพผิดไปจากที่ได้จดทะเบียนไว้
2. รถที่เปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไป จากรายการ
ที่จดทะเบียนไว้ในสมุดคู่มือทะเบียนรถ( เช่น เปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนลักษณะรถ เปลี่ยน
ชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น )
3. รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์ ( เช่น ไม่ปรากฏตัวเลข ตัวเลขชำรุด
หรือมีร่องรอยการแก้ไข ขูด ลบ หรือลบเลือนจนไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ เป็นต้น )
4. รถที่เจ้าของได้แจ้งการไม่ใช้ชั่วคราว หรือแจ้งการไม่ใช้รถตลอดไปไว้
5. รถเก่าที่มีเลขทะเบียนเป็นเลขทะเบียนรุ่นเก่า ( เช่น กท-00001, กทจ-0001 เป็นต้น)
ซึ่งรถดังกล่าวต้องเปลี่ยนทะเบียนรถใหม่เมื่อมีการนำมาเสียภาษีประจำปี รถที่มีปัญหาเกี่ยว
กับการถูกโจรกรรมแล้วได้คืน
6. รถที่ได้สิ้นอายุภาษีประจำปี (ขาดต่อทะเบียน) เกิน 1 ปี

สนใจ/ติดต่อ สอบถาม Tel.02 920 4500 Fax.02 920 4501

แผนที่ไป ตรอ.บางใหญ่ธนากร บางใหญ่ นนทบุรี


ประกันภัย-ภาคบังคับ(พ.ร.บ.)
การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัย
อย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์
1.
เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ที่ได้รับบาดเจ็บ/ เสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีกรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต
2.
เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล / สถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ในการรับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
3.
เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย เพราะเหตุประสบภัยจากรถ
4.
ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือนร้อน แก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว



ทำอย่างไรเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
สิ่งหนึ่งที่เวลาเราขับรถแล้วต้องระวังมากที่สุด คือการเกิดอุบัติเหตุ เพราะนอกจาก
จะเสียเวลาแล้ว รถสุดที่รักก็ต้องมีตำหนิเกิดขึ้น แต่ไม่ว่าระวังยังไงอุบัติเหตุก็อาจจะ
เกิดขึ้นได้ ดังนั้น เรามาดูวิธีว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เราควรจะทำอย่างไรกันดีกว่าครับ
เมื่อเกิดอุบัติเหตุ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ การตั้งสติครับ ไม่ว่าอุบัติเหตุนั้นร้ายแรง
หรือเปล่า เมื่อได้สติก็สำรวจครับ ว่ามีใครได้รับบาดเจ็บหรือเปล่า ถ้ามีใครได้รับบาดเจ็บ
ก็ควรจะนำส่งโรงพยาบาลเป็นอันดับแรกครับ เรื่องอื่นๆ ค่อยมาว่ากันทีหลัง การนำผู้
ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลมีอยู่ 3 วิธีคือ
1.
เรียกรถพยาบาลมารับ วิธีนี้เหมาะกับผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงแต่สามารถรอรถพยาบาลมารับได้ หรือ ผู้ได้รับบาดเจ็บบาดเจ็บรุนแรงขนาดต้องให้ผู้ชำนาญเคลื่อนย้ายครับ
2.
เรียกรถแท็กซี่ หรือ รถคันอื่นนำส่งโรงพยาบาลครับ วิธีนี้เหมาะกับผู้ได้รับบาดเจ็บไม่รุนแรงครับ หรือรุนแรงไม่สามารถรอรถพยาบาลแต่สามารถเรียกรถคันอื่นได้โดยเร็ว
3.
ใช้รถคันที่เกิดอุบัติเหตุนำผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล วิธีนี้เป็นทางเลือกสุดท้าย ถ้าผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงและไม่สามารถรอรถพยาบาลมารับ หรือไม่สามารถหารถคันอื่นนำส่งโรงพยาบาลได้ครับ

สาเหตุที่ไม่ควรนำรถคันที่เกิดอุบัติเหตุ นำผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลเพราะ
อาจจะเกิดปัญหาว่าใครเป็น ฝ่ายถูก-ผิด ในอุบัติเหตุได้ เพราะได้มีการเคลื่อนย้ายรถแล้ว
และอาจจะมีปัญหาทางด้านคดีตามมา

เมื่อนำผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลแล้ว หรือ อุบัติเหตุครั้งนั้นไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
เราก็จะมาดูกันต่อเลยว่า ต้องทำอย่างไรครับ

เมื่อรถเกิดอุบัติเหตุ สิ่งที่ผู้ขับขี่ต้องการรู้มากที่สุดคือ ใครเป็นฝ่ายถูก และ ใครเป็นฝ่ายผิด
เพราะฝ่ายผิดต้อง เป็นฝ่ายรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น การระบุว่าใครผิดหรือถูก ต้องดู
จากลักษณะการชนครับ ถ้าไม่มีใคร ยอมรับผิดก็ไม่ควรเคลื่อนย้ายรถครับ ต้องรอเจ้าหน้าที่ตำรวจ
มาฉีดสเปรย์ก่อนครับหลังจากนั้นค่อยเคลื่อนย้ายรถและ รอประกันมาครับ
แต่โดยความเป็นจริงแล้ว การรับผิดชอบต่อความเสียหายต้องขึ้นอยู่กับการทำประกันภัย
ของทั้ง 2 ฝ่ายด้วยครับ ดังนี้
1.ทำประกันภัย ขั้นที่ 1 ทั้งคู่ กรณีนี้ คู่กรณีไม่จำเป็นต้องหาว่าใครเป็นฝ่ายผิดหรือถูก เพราะสามารถเรียก ประกันมาทั้ง 2 ฝ่าย ทางประกันจะเป็นฝ่ายตกลงกันเอง และประกันของแต่ละฝ่ายออกใบเคลมให้ทั้งคู่เองครับ
2.ฝ่ายถูกทำประกันภัย ขั้นที่ 1 ฝ่ายผิดทำประกันภัย ขั้นที่ 3 หรือ มีแค่ พ.ร.บ. กรณีนี้ สามารถเรียกประกันมาทั้ง 2 ฝ่าย โดยประกันฝ่ายถูกทำเคลมให้ฝ่ายถูกตามสัญญา เช่น ซ่อมห้าง หรือ ซ่อมอู่ โดยค่าใช้จ่าย ประกันฝ่าย ถูกจะไปตกลงกับ ประกันฝ่ายผิด หรือ คู่กรณีเองครับ
3.ฝ่ายผิดทำประกันภัย ขั้นที่ 1 ฝ่ายถูกทำประกันภัย ขั้นที่ 3 หรือ มีแค่ พ.ร.บ. กรณีนี้ ฝ่ายผิดต้องเรียกประกัน มาทำเคลมให้ทั้ง 2 ฝ่ายครับ ฝ่ายถูกไม่จำเป็นต้องเรียกประกันถ้าระบุได้ว่าใครผิด ใครถูกครับ (ยกเว้น มีผู้บาดเจ็บ ต้องเรียกประกันมาครับ)
4.ฝ่ายผิดทำประกันภัย ขั้นที่ 3 ฝ่ายถูกทำประกันภัย ขั้นที่ 3 หรือ มีแค่ พ.ร.บ. กรณีนี้ ฝ่ายผิดต้องเรียกประกัน มาทำเคลมให้ฝ่ายที่ถูกครับ ส่วนฝ่ายผิดต้องซ่อมเองครับ ฝ่ายถูกไม่จำเป็นต้องเรียกประกันถ้าระบุได้ว่า ใครผิด ใครถูกครับ (ยกเว้นมีผู้บาดเจ็บ ต้องเรียกประกันมาครับ)
5.ฝ่ายผิดมีแค่ พ.ร.บ. ฝ่ายถูกทำประกันภัย ขั้นที่ 3 หรือ มีแค่ พ.ร.บ. ฝ่ายผิดต้องรับผิดชอบค่าเสียหายให้ฝ่าย ถูก ควรจะมีการแจ้งความเป็นหลักฐานในกรณีนี้ด้วยครับ เพื่อป้องกันการเรียกร้องอื่นๆอีกในภายหลังครับ ฝ่ายถูกไม่จำเป็นต้องเรียกประกันถ้าระบุได้ว่าใครผิด ใครถูกครับ (ยกเว้นมีผู้บาดเจ็บ ต้องเรียกประกัน มาครับ)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตรวจสภาพรถ